องค์การบริหารส่วนตำบลชานุวรรณ

อบต.ชานุวรรณ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 3

ท้องถิ่นสู่อาเซี่ยน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรความร่วมมือ ระดับภูมิภาคมีความคล้ายคลึงกันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งอาจจำแนกออกได้คร่าวๆ เป็นประเทศหมู่เกาะกับประเทศบนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้โดยที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศมีความหลากหลายด้านสังคมวัฒนธรรมภาย ในแต่ละประเทศเองซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศสมาชิกอา เซียนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่ อย่างสาธารณรัฐอินโดนีเซียสหภาพพม่าการเปรียบเทียบประเทศสมาชิกอาเซียนใน เชิงระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจจากมุมมองด้านรายได้จากข้อมูลของ World Bank (2003) สะท้อนให้เห็นว่าระดับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในอาเซียนนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ 1) ประเทศที่มีรายได้ต่ำได้แก่ประเทศกัมพูชาลาวพม่าและเวียดนาม 2) ประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้แก่ฟิลิปปินส์มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยและ3) ประเทศที่มีรายได้สูงได้แก่สิงคโปร์ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations–ASEAN) โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมพ.ศ. 2510

                 การเปิดพื้นที่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นการสร้างกระแสตื่นตัวให้แก่หลายประเทศในการเปิดเสรีด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการศึกษาซึ่งเป็นความท้าทายต่อการเร่งรัดพัฒนาประเทศให้สอดคล้อง กับการแปรเปลี่ยนของกระแสสังคมโลก เพราะฉะนั้นการที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่ง เป็นปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้าง ขึ้นมาเอง และในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา เห็นภัยของการครอบงำของวัฒนธรรมแปลกปลอมจากภายนอกเพื่อการก้าวทันและผลักดัน ชุมชนท้องถิ่นอย่างมีทิศทาง
                    จากการที่กระแสวัฒนธรรมที่มีรากฐานอยู่ที่ทุนนิยมตะวันตกได้แพร่ขยายไปทั่ว โลก ส่งผลกระทบในการเข้าไปมีอิทธิพลครอบงำหรือเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ก็ถาโถมเข้ามาทำลายประวัติศาสตร์  ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม  ค่านิยมและความเชื่อที่ยึดถือกันมานาน  ความเปลี่ยนแปลงนี้จะเปิดประตูให้อนาคตบุกรุกเข้ามาในชีวิต  จึงเป็นเรื่องยากที่จะจับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ว่าจะไปทางไหน  เพราะอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงมีพลังมากพอที่จะเคลื่อนไหวว่าทิศทางของ วัฒนธรรมจะไปทางใด  นอกจากนี้การเผชิญหน้ากับโลกาภิวัฒน์จึงจำเป็นต้องใช้จินตนาการและความคิด สร้างสรรค์มากกว่าความถูกต้องของหลักวิชาหรือทฤษฎีต่าง ๆ และวัฒนธรรมการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง
                แต่ก่อนที่มันจะพัฒนาการไปสู่ความเจริญและความเสื่อม สังคมเปิดกว้างมักจะอยู่รอดด้วยการเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง  เกิดความคิด ความเชื่อ ความซับซ้อน ความขัดแย้ง ทั้งหมดจะเชื่อมโยงเข้ากับวิถีชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีก็ได้แสดงศักยภาพในการสื่อสารที่บ่งบอกถึงความทันสมัย  ความสะดวกรวดเร็ว  จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าภาพของพื้นที่ตามแนวชายแดนอาจจะต้องสูญเสีย วัฒนธรรมดั้งเดิมไปและเริ่มสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อการขยายโอกาสในการ สร้างสรรค์สู่การรองรับประชาคมอาเซียนให้แก่ชุมชนท้องถิ่นได้เกิดการรับและ เรียนรู้

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวว่าปัจจัยที่สำคัญมากต่อการนำชุมชนไปสู่ชีวิตสาธารณะที่มีสุขภาพดีหรือ ไม่ดีก็คือกรอบแนวคิดโดยเฉพาะกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาและการมองความเป็นไป ของสรรพสิ่ง วอนกรีสแฮม เรียกกรอบแนวคิดนี้ว่า “หลักนำการปฏิบัติ” (guiding principles) ในชุมชนที่อุดมด้วยชีวิตสาธารณะนั้นเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ภาคสาธารณะและการทำงานเพื่อส่วนรวมและจอห์น แมคไนท์ ผู้ศึกษาองค์กรชุมชนอธิบายว่า หลักนำการปฏิบัติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ “จงถือว่ามนุษย์ทุกคนคือ ทรัพยากรที่ล้ำค่า” เป็นหลักนำที่มองชุมชนในฐานะองค์รวมของศักยภาพของปัจเจกบุคคลในชุมชนและมี ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมเพราะเมื่อชุมชนให้ความ สำคัญต่อศักยภาพของคนในชุมชนชุมชนนั้นย่อมตระหนักถึงความเป็นไปได้ของการริ เริ่มดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่องแนวคิดต่อพลังในชุมชน ชุมชนที่มีชีวิตสาธารณะที่ดีจะมีกรอบแนวคิดว่าพลังที่แท้จริง เป็นพลังที่มาจาก ประชาชน “ประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น”

            และวิถีทางเดียว ที่จะทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่น่าอยู่ก็คือ ประชาชนในชุมชน ต้องเข้าใจและยอมรับความรับผิดชอบของตนต่อทุกๆเรื่อง ที่เกิดขึ้นกับชุมชน ไม่ปฏิเสธหรือยกเว้นแม้กระทั่งเรื่องของอาเซียนที่จะขยับเข้ามาปะทะการ ดำเนินชีวิตอย่างหลีกหนีไม่พ้น

            เพราะฉะนั้น การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจะต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นปราการ ที่แข็งแกร่ง ที่สุดของชาวบ้าน เป็นพลังผลักดันการพัฒนาชุมชนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนสร้าง ขึ้นมาเอง และในแง่วิธีการพัฒนา จะต้องทำให้ชาวบ้านมีจิตสำนึกที่แจ่มชัดในวัฒนธรรมของเขา ปัญญาชนของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านตื่นและรับรู้ รู้เอกลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ค้นพบจิตสำนึกอิสระของชุมชน เห็นคุณค่าของการรวมตัวเป็นชุมชน และซาบซึ้งในประวัติการต่อสู้ร่วมกันตลอดมา

            เราอย่าลืมว่า ชุมชน จะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเรารู้จักความจริงในหมู่บ้านเพียงครึ่งเดียว ขณะที่อาเซียนที่จะขยับเข้ามานั้นเป็นเพียงการตื่นรู้ของการเป็นอยู่ในอดีต ที่ชุมชนแค่ปรับฐานคิดการฉกฉวยโอกาสของการสร้างสรรค์พันธนาการร่วมทางสังคม โดยเฉพาะความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อโอกาสและอนาคตของลูกหลานชุมชนชายแดนท้องถิ่น(ไทย) ที่หลายฝ่ายยังคงมองข้ามและคลำหาทิศทางในการรองรับประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ที่จะมาเยือนเร็วๆนี้...

ดาวน์โหลดเอกสารอ่านเพิ่มเติมคลิก


ที่มา:http://www.oknation.net

replica handbags replica handbags louis vuitton replica handbags louis vuitton replica handbags ysl replica handbags replica handbags hermes replica handbags hermes replica handbags louis vuitton replica handbags replica handbags louis vuitton replica handbags mulberry replica handbags gucci replica handbags hermes replica handbags givenchy replica handbags gucci replica handbags hermes replica handbags Christian Dior replica handbags louis vuitton replica handbags gucci replica handbags replica handbags louis vuitton replica handbags replica handbags N10-005 1Z0-061 220-801 70-465 C4090-958 MB6-700 70-462 70-461 70-410 MB2-701 70-489 220-802 700-501 050-SEPROAUTH-02 M70-101 70-458 CCD-410 70-341 70-464 640-554 70-331 EX300 1Z0-060 MB2-701 70-467 EX200 350-001 700-505 640-911 M70-301 1d0-610 1z0-507 220-801 220-802 312-49v8 312-50v8 642-416 642-584 642-618 100-101 200-101 200-120 350-001 350-018 350-029 350-030 350-050 70-457 N10-005 1Z0-061 220-801 70-465 C4090-958 MB6-700 OG0-093 646-206 EX0-001 70-413
View : 739